ประวัติพระพิฆเณศ - ประวัติพระพิฆเณศ นิยาย ประวัติพระพิฆเณศ : Dek-D.com - Writer

    ประวัติพระพิฆเณศ

    ก็เป็นเรื่องเกี่ยวกับพระพิฆเณศอ่านะคะ ใครเรียนอยู่หรือต้องใช้ข้อมูลก็มาสูบได้เลยนะคะ ถ้าใครไม่ได้เรียนก็มาอ่านเป็นความรู้รอบตัวได้ค่ะ

    ผู้เข้าชมรวม

    8,989

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    2

    ผู้เข้าชมรวม


    8.98K

    ความคิดเห็น


    3

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  18 พ.ย. 52 / 20:19 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น
    ขอบคุณเครดิต http://www.geocities.com/aartiyan108/aarti7.html มากเลยนะค้า...
    ก็อ่านเป็นความรู้รอบตัวกันละกันนะคะ
    เม้นกันด้วยนะค้า~!!!!!
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

      พระพิฆเณศ

      บทบาทความสำคัญ 
      คนไทยคุ้นเคยกับบรรดาเทพทั้งหลายมาช้านาน แต่ในบรรดาเทพทั้งหมด คนไทยรู้จักพระพิฆเนศวรมากที่สุดเพราะท่านเป็นมหาเทพที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตคนไทยมากที่สุดจนกล่าวได้ว่า คนไทยยอมรับในองค์พระพิฆเนศวรเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งในการประกอบพิธีกรรมต่างๆ เป็นตราประจำกรมกองต่างๆมากมาย พระพิฆเนศวร์เป็นเทพแห่งปราชญ์ ความรอบรู้ต่าง เป็นเทพแห่งขจัดอุปสรรคความขัดข้อง ดังนั้นหากผู้ใดเป็นผู้รู้และประสบความสำเร็จต่อกิจการทั้งปวงมักจะบูชาพระพิฆเนศวร์ก่อน ในอินเดียเองก็มีแนวความเชื่อในเรื่องพระพิฆเนศวร์ในทุกลัทธิศาสนาไม่ว่าลัทธิที่ถือองค์พระศิวะเป็นใหญ่ นับถือพระพรหมเป็นใหญ่หรือพระนารายณ์เป็นใหญ่ ทุกลัทธิล้วนให้ความสำคัญต่อพระพิฆเนศวร์ทั้งสิ้น ด้วยทุกตำราได้กล่าวถึงที่มาของพระพิฆเนศวร์ไว้สูง สำคัญและฤทธิ์มาก มีความเฉลียวฉลาด มีคุณธรรม คอยช่วยเหลือปกป้องปราบปรามสิ่งชั่วร้ายและเป็นยอดกตัญญู ูแม้พระพิฆเนศวร์จะเป็นเทพที่มีความเก่งกาจสามารถยิ่ง แต่ก็เป็นเทพที่สงบนิ่งไม่เย่อหยิ่งทรนงอันเป็นคุณสมบัติอันประเสริฐอีกประการหนึ่งของผู้ยิ่งใหญ่อย่างแท้จริง จึงกล่าวได้ว่า พระพิฆเนศวร์เป็นมหาเทพที่ดีพร้อมครบถ้วนด้วยความดีงามสมควรแก่การยกย่องบูชาเป็นนิจ แม้แต่องค์พระศิวะมหาเทพผู้สร้างและพระบิดาแห่งองค์พระพิฆเนศวร์ยังกล่าวว่า ไม่ว่าจะกระทำการสิ่งใดหรือทำพิธีบูชาใด ให้ทำการบูชาพระพิฆเนศวร์ ก่อนกระทำการทั้งปวง ผู้ใด ต้องการความสำเร็จ ให้บูชาพระพิฆเนศวร ผู้ใด ต้องการพ้นจากความขัดข้องทั้งปวง ให้บูชาพระพิฆเนศวร์ 


      ฐานะและสถานภาพ
      เนื่องจากพระคเณศเป็นเทพที่มีสถานภาพแห่งความเป็นสากล ศาสนิกชนและผู้คนทั่ว ๆไปต่างเคารพนับถือพระองค์ว่าเป็นเทพที่สำคัญ อันจะอำนวยพรประสิทธิ์ประสาทผลในด้านต่างๆแทบจะทุกด้าน และผู้เลื่อมใสพระองค์ก็มีตั้งแต่ชนชั้นล่างสุดจนถึงชนชั้นปกครอง ทุกสาขาอาชีพ ไม่มีขีดจำกัดหรือกฎเกณฑ์ ห้ามปรามเหมือนอย่างพระมหาเทพและพระมหาเทวีบางพระองค์ พอจะสรุปถึงฐานะของพระคเณศในด้านต่างได้ดังนี้ ๑. พระคเณศในฐานะเทพขจัดอุปสรรค ในสมัยก่อน พ่อค้าต่างๆเวลามาเพื่อติดต่อค้าขายในแถบคาบสมุทรอินโดจีน มักจะพกพาพระคเณศติดตัวมาบูชาเพื่อคุ้มครองป้องกันภัยและช่วยอำนวยความสำเร็จในการเดินทาง ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา จึงมีการนิยมสร้างรูปเคารพพระคเณศขึ้นมาเพื่อประทานความสำเร็จและขจัดอุปสรรคโดยเฉพาะในด้านการค้าและการประกอบธุรกิจต่างๆ ในบริษัทใหญ่ๆ โรงแรมใหญ่ๆในปัจจุบัน ๒. พระคเณศในฐานะเทพบริวาร ในฐานะที่พระคเณศเป็นพระโอรสของพระศิวะมหาเทพและพระอุมามหาเทวี ท่านจึงได้ฐานะเป็นเทพบริวารให้กับมหาเทพทั้งสอง ด้วยฐานะดังกล่าวจึงมีการนำมาใช้เป็นสัญลักษณ์ที่กองพลทหารบกที่ ๑ รักษาพระองค์ ๓. พระคเณศในฐานะเทพผู้ปกป้องคุ้มครองเด็ก พระคเณศในฐานะนี้เราจะพบเห็นได้จากภาพวาดหรือปฏิมากรรมของพระคเณศในวัยที่ยังเป็นเด็ก ขณะเป็นพระโอรสของพระนางอุมามหาเทวี ผู้คนจึงมอบฐานะแห่งเทพผู้คุ้มครองเด็กให้กับพระองค์ ๔. พระคเณศในฐานะเทพแห่งศิลปวิทยาการ ทรงเป็นเทพแห่งฉลาดรอบรู้และเป็นเทพแห่งศิลปะวิทยาการต่าง ๆ ซึ่งภาพวาดหรือรูปเคารพของพระองค์จะมี ๒ พระกร ถือ คัมภีร์และงาหัก นตามหลักฐานที่ปรากฏ จะพบว่าคติการเคารพบูชาพระคเณศในฐานะเทพแห่งศิลปวิทยาการของไทยเรานั้นเริ่มตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเรื่อยมาจวบจนถึงปัจจุบัน และปรากฏฐานะนี้ที่เด่นชัด ในสมัยรัชการที่ ๖ ที่ทรงกำหนดให้ใช้รูปพระคเณศเป็นตราเครื่องหมายสัญลักษณ์ของวรรณคดีสโมสร ต่อมาในปีพ.ศ.๒๔๘๐ ก็ได้กำหนดให้ใช้รูปของพระคเณศเป็นตราสัญลักษณ์ของกรมศิลปากร ๕. พระคเณศในฐานะบรมครูช้าง ในสมัยก่อนนั้นการทำศึกสงคราม ช้างเป็นสัตว์ที่สำคัญและจำเป็นอย่างมากในการทำศึก การทำกิจกรรมต่างๆเกี่ยวกับช้างจึงเป็นเรื่องสำคัญถึงขนาดกลายเป็นศาสตร์ที่สำคัญแขนงหนึ่งซึ่งมีชื่อว่า "คชศาสตร์" ด้วยรูปแบบดังกล่าวของพระคเณศ จึงปฏิเสธไม่ได้ว่าจะไม่เกี่ยวข้องกับคชศาสตร์ ดังนั้นเมื่อมีกิจกรรมเกี่ยวกับคชศาสตร์เกิดขึ้น ก็ย่อมจะต้องมีการบูชาพระคเนศด้วย ๖. พระคเณศในฐานะที่เป็นทวารบาล เป็นคติที่พบได้ทางภาคเหนือของไทยเรา เรามักพบเห็นพระคเณศอยู่บริเวณหน้าประตูทางเข้าวัดในพุทธศาสนา ซึ่งคล้ายกับคตินิยมในธิเบตและพม่า ดังตัวอย่างเช่นที่วัดพระธาตุดอยสุเทพ และวัดท่าสต๋อย ที่มีรูปพระคเณศอยู่บริเวณทางเข้าในฐานะพระทวารบาล และคติการสร้างรูปพระคเณศไว้ที่บริเวณทางเข้าวัดทางภาคเหนือนั้น จะเน้นหนักไปในเรื่องที่ยกพระคเณศให้เป็นทวารบาลคอยคุ้มครองสัปตบุรุษผู้ไปทำบุญหรือปฏิบัติศาสนกิจ ๗. พระคเณศในฐานะบรมครูหรือเทพทางศิลปะการแสดง ปัจจุบันนี้ศิลปะการแสดงต่างๆโดยเฉพาะในแวดวงดาราดาราภาพยนตร์และดาราทีวีจะนับถือพระคเณศว่าเป็นบรมครูทางการแสดงของพวกเขา ซึ่งจะไปเหมือนกับคตินิยมในการบูชาพระคเณศในฐานะบรมครูทางนาฏกรรมของบรรดานักนาฏศิลป์ทั้งหลาย ๘. พระคเณศในเครื่องรางของขลัง ในราวพุทธศตวรรษที่ ๘ ชึ่งเป็นช่วงที่พ่อค้าวานิชและนักบวชในศาสนาฮินดูเดินทางออกจากประเทศอินเดียมาสู่แหลมอินโดจีน และมักจะพกพาเครื่องรางที่เป็นรูปพระคเณศองค์เล็ก ติดตัวมาติดต่อค้าขายและเผยแพร่ศาสนาในแหลมอินโดจีน ดังหลักฐานที่ปรากฏจากการขุดค้นพบเครื่องรางรูปพระคเณศองค์เล็ก ๆ ในบริเวณอ่าวบ้านดอน จ .สุราษฏร์ธานี

      ความหมาย
      พระคเณศ ทรงมีรูปร่างเดียว โดยทรงมีพระเศียรเป็นช้าง มีพระกรรณกว้างใหญ่ มีงวงยาว แต่ทรงมีร่างกายเป็นมนุษย์ มี 4 6 หรือ 8 กรแล้วแต่พระภาคที่จะเสด็จมา รูปร่างของพระองค์แสดงถึงสิ่งเป็นมงคลดีเยี่ยม ซึ่งทรงสั่งสอนถึงความดีและความสำเร็จ พระคเณศทรงเป็นสัญลักษณ์แห่งความรู้และปัญญายิ่งใหญ่ แต่ละส่วนของท่านให้ความหมายในเชิงปรัชญาได้ดังนี้ พระเศียร - ทรงใช้เศียรอันใหญ่ที่เต็มด้วยปัญญาความรู้ เป็นที่รวมแห่งปัญญาทั้งหมด พระกรรณ - ทรงใช้รับฟังคำสวดจากพระคัมภีร์และความรู้ในรูปอย่างอื่น ๆอันเป็นสิ่งแรกแห่งการศึกษา งวง - เราได้นำเอาความรู้ต่าง ๆที่ได้รับจากการเลือกเฟ้นระหว่างทวิลักษณะ ความผิด-ถูก ความดี-ความชั่ว อันมีงวงช้างที่ยาวและใหญ่ใช้ชั่งน้ำหนักต่อการกระทำหรือการค้นหาสิ่งที่ดีงามต่างๆ อันปัญญานั้นเกิดขึ้นเพื่อช่วยในการแก้ปัญหาของชีวิตให้หลุดพ้นจากอุปสรรค และพบกับความสำเร็จสมดั่งความมุ่งหมาย งา - งาข้างเดียวโดยอีกข้างหักนั้น เพื่อแสดงให้รู้ว่าจะต้องอยู่ในเหตุระหว่างความดี-ความชั่ว ซึ่งต้องทำความเข้าใจให้ดีถึงความแตกต่างกัน ดั่งเช่น ความเย็น-ความร้อน การเคารพ-การดูหมิ่นเหยียดหยาม ความซื่อสัตย์-ความคดโกง หนู - แสดงถึงความปรารถนาของมนุษย์ บ่วงบาศ - ทรงถือโดยทรงลากจูงคนทั้งหลายให้เดินตามรอยพระบาทของพระองค์ ขวาน - เป็นอาวุธทรงใช้ปกป้องความชั่วร้ายและคอยขับไล่อุปสรรคทั้งหลายที่มาก่อกวนต่อบริวารของพระองค์ ขนมโมทกะ - ข้าวสุกผสมน้ำตาลปั้นเป็นลูก เพื่อประทานให้เราเป็นรางวัลต่อการที่เราปฏิบัติตามรอยพระบาทของพระองค์ ท่าประทานพร - หมายถึงความยิ่งใหญ่แห่งความผาสุกและความสำเร็จให้กับสาวกของพระองค์


      กำเนิด
      เชื่อกันว่า ลัทธิการบูชาพระคเณศนั้น น่าจะมาจากชนพื้นเมืองดั้งเดิมของอินเดีย ซึ่งเป็นลัทธิการบูชาสัตว์ หรือลัทธิแห่งชัยชนะเหนือธรรมชาติ ชนพื้นเมืองของอินเดีย เชื่อกันว่าหนูเป็นสัญลักษณ์ของความมืด พระคเณศทรงขี่หนูจึงหมายถึงชัยชนะของแสงอาทิตย์ที่ขจัดความมืดให้สิ้นสุดลง พระคเณศอาจจะมีต้นกำเนิดมาจากการเป็นเทพประจำเผ่าของคนป่า ที่อาศัยอยู่ในป่าเขาอันกว้างใหญ่ของอินเดีย คนเหล่านี้ต้องเผชิญกับฝูงช้างอันน่ากลัวจึงเกิดการเคารพในรูปของช้างชึ้น เพื่อให้ปกป้องคุ้มครองและพัฒนาต่อมาเป็นเทพชั้นสูงของชาวอารยัน ต่อมาได้พัฒนาเป็นเทพผู้ขจัดซึ่งอุปสรรค มีความเฉลียวฉลาดเป็นเลิศ ทั้งยังได้รับการยกย่องให้เป็นหัวหน้าของเทพที่มีเศียรเป็นสัตว์ทั้งหลาย จนกระทั่งมีการรจนาปกรณ์ให้เป็นโอรสของพระศิวะเทพและพระนางปราวตีในเวลาต่อมา แต่ในแง่ของคัมภีร์ทางศาสนาพราหมณ์ได้บรรยายจุดกำเนิดของพระคเนศไว้หลากหลายตำนานตามความเชื่อในแต่ละลัทธิ พอจะสรุปเป็นหลักๆได้ดังนี้ ตำนานที่ 1. วิฆเนศวรปราบอสูรและรากษส อสูรและรากษสได้ทำการบวงสรวงพระศิวะจนได้คำพรจากพระศิวะหลายประการ ยังให้เหล่าอสูรกลุ่มนี้ฮึกเหิมก่อความเดือดร้อนเป็นอันมาก พระอินทร์จึงทรงนำเทวดาทั้งหลายไปเข้าเฝ้าอ้อนวอนต่อพระศิวะ ขอให้พระองค์สร้างเทพแห่งความขัดข้องขึ้น เพื่อขัดขวางความพยายามของอสูรและรากษส พระองค์จึงทรงแบ่งส่วนกายหนึ่งให้เกิดบุรุษร่างงามจากครรภ์ของพระนางปราวตีและตั้งพระนามว่าวิฆเนศวร เพื่อทำหน้าที่ขวางทางอสูร รากษส และคนชั่วมิให้ทำการบัดพลีเพื่อขอพรจากพระศิวะ ทั้งยังเป็นผู้เปิดทางอำนวยความสะดวกต่อเทวดาและคนดีเพื่อเป็นหนทางสู่ความสำเร็จ ตำนานที่ 2. ปราวตีนำเหงื่อไคลปั้นเป็นลูก ครั้งหนึ่ง ชยาและวิชยา พระสหายของนางปราวตีได้แนะนำว่าปกติพระนางมักจะต้องใช้บริวารของพระศิวะอยู่เป็นประจำ ถ้าหากพระนางจะมีบริวารเป็นของตนเองก็คงจะดีไม่น้อย พระนางเห็นด้วย จนวันหนึ่งขณะที่ทรงสรงน้ำอยู่ตามลำพังก็ทรงนึกถึงคำพูดของพระสหายจึงได้นำเอาเหงื่อไคลออกมาสร้างบุรุษรูปงาม สั่งให้ไปยืนเฝ้าทวาร มิให้ใครเข้ามาโดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นอย่างนี้มาหลายเพลา จนวันหนึ่งพระศิวะได้เสด็จมา ฝ่ายลูกก็ป้องกันแข็งขัน โดยไม่รู้ว่านั่นคือพ่อพระศิวะโกรธก็เลยสั่งให้ภูติและคณะของตนเข้าสังหารทวารบาลพระองค์นั้น บ้างก็ว่าพระศิวะพุ่งตรีศูลตัดเศียรลูก บ้างก็ว่าพระวิษณุเทพที่มาช่วยรบนั้นใช้จักรตัดเศียร ความทราบถึงพระนางปราวตีจึงเกิดศึกใหญ่ระหว่างเทพและเทพีขึ้นบนสวรรค์ ฝ่ายฤาษีนารอดอดรนทนไม่ได้ จึงได้เป็นทูตสันติภาพขอเจรจากับนางปราวตีเพื่อสงบศึก นางบอกว่าจะสงบศึกก็ต่อเมื่อลูกของนางฟื้นเท่านั้น พระศิวะจึงสั่งให้เทวดาเดินทางไปทิศเหนือให้เอาศีรษะของสิ่งมีชีวิตสิ่งแรกที่พบมาต่อกับโอรสของนางปราวตี ปรากฏว่าเทวดาได้เศียรของช้างซึ่งมีงาเพียงข้างเดียวมา เมื่อพระคเณศฟื้นขึ้นมา ทราบความจริงว่า พระศิวะคือพระบิดาก็ตรงเข้าไปขอโทษเพราะรู้เท่าไม่ถึงการณ์ พระศิวะพอใจมากประสาทพรให้พระคเณศมีอำนาจเหนือภูติผีทั้งหลายและทรงแต่งตั้งให้เป็นคณปติ ตำนานที่ 3. ขวางทางคนชั่วไปเทวาลัยโสมนาถและโสมีศวร พระนางปราวตีทรงเอาน้ำมันที่ใช้ในการสรงน้ำมาผสมกับเหงื่อไคลปั้นเป็นรูปคนแต่มีเศียรเป็นช้างจากนั้นได้เอาน้ำจากพระคงคาปะพรมให้มีชีวิตขึ้น เพื่อทำการขัดขวางแก่คนชั่วที่จะไปบูชาศิวะลึงค์ที่เทวาลัยโสมนาถและเทวาลัยโสมีศวรเพราะคนเหล่านี้หวังจะไปล้างบาปเพื่อมิให้ตกนรกทั้งเจ็ดขุม ด้วยเหตุนี้ การที่วันคเณศจาตุรถี นิยมเอารูปปั้นพระคเณศมาจุ่มน้ำหรือนำเทวรูปปูนชิ้นเล็ก ๆมาทิ้งตามแม่น้ำคงคา ชะรอยจะมาจากความเชื่อที่ว่าน้ำจากแม่พระคงคาจะทำให้พระคเณศมีชีวิตขึ้นมานั่นเอง ตำนานที่ 4. พระคเณศ กฤษณะอวตาร พระนางปราวตีมเหสีของพระศิวะไม่มีโอรส พระศิวะจึงทรงแนะนำให้พระนางทำพิธีปันยากพรต (พิธีบูชาพระวิษณุเทพ ในวันขึ้น 13 ค่ำเดือนมาฆะ) มีระยะเวลากำหนด 1 ปีเต็มและเมื่อครบกำหนด พระนางจะได้โอรสซึ่งเป็นพระกฤษณะอวตารไปจุติ ซึ่งทุกอย่างเป็นไปตามคำตรัสของพระศิวะ ทวยเทพทั้งหลายมาร่วมอวยพรในกลุ่มเทพเหล่านี้มีพระศนิ (พระเสาร์) รวมอยู่ด้วย เมื่อพระศนิเหลือบมองพระกุมารทันใดนั้นเศียรกุมารก็ขาดจากพระศอกระเด็นไปยังโคโลกซึ่งเป็นวิมานของพระกฤษณะพระวิษณุจึงเสด็จไปยังแม่น้ำบุษปุภัทรเห็นช้างนอนหัวไปทางทิศเหนือจึงตัดเศียรช้างกลับมาต่อให้กับเศียรกุมารที่หายไป ตำนานนี้เข้าใจว่าเป็นเรื่องที่สร้างโดยกลุ่มที่นับถือพระกฤษณะเป็นใหญ่ ตำนานที่ 5 ศิวะ-อุมาแปลงกายเป็นช้างเข้าสมสู่ ครั้งหนึ่งพระศิวะและพระนางปราวตีได้เสด็จมายังแถบภูเขาหิมาลัยได้เห็นช้างสมสู่กันก็บังเกิดความใคร่ พระศิวะจึงได้แปลงเป็นช้างพลาย ส่วนนางปาราวตีแปลงกายเป็นช้างพังร่วมสโมสรจนมีลูกเป็นพระคเณศ


      ฤทธิ์แห่งปัญญา
      มีตำนานที่กล่าวถึงความมีสติปัญญาและไหวพริบของพระคเณศไว้หลายตอน อย่างเช่นกรณี ที่ท่านเป็นผู้ลิขิตมหากาพย์ภารตะ ครั้งหนึ่ง มหาฤาษีวยาสะมีความต้องการที่จะเขียนมหากาพย์ภารตะ แต่เกรงว่าตนจะทำเองไม่สำเร็จ จึงไหว้วานให้ผู้อื่นช่วย แค่ไม่มีใครกล้าอาสาที่จะรับผลงานชิ้นนี้ ฤาษีนารอดเห็นว่าพระคเณศองค์เดียวเท่านั้นที่จะเขียนมหากาพย์ชิ้นนี้ได้ ในที่สุดฤาษีวยาสะจึงต้องทูลขอความช่วยเหลือจากพระคเณศ พระคเณศบอกว่า จะเขียนตามที่ฤาษีบอก แต่ทันทีที่ฤาษีหยุดบอกจะหยุดเขียนทันที ฝ่ายฤาษีบอกว่า สิ่งที่พูดออกไปจากปากของเราต้องตีความให้ถ่องแท้ก่อนที่จะลงมือเขียน ฉะนั้นเมื่อฤาษีต้องใช้การคิดสำหรับโศลกต่อไปก็จะบอกศัพท์ยาก ๆเพื่อให้พระคเณศตีความเสียก่อนเพื่อเป็นการประวิงเวลา พระคเณศจึงได้รับการยกย่องว่าเป็นยอดอัจฉริยะในฐานะที่เป็นผู้ลิขิต มหาภารตะ ซึ่งถือว่าเป็นคัมภีร์มหากาพย์สุดยอดของฮินดู อย่างไรก็ตาม เรื่องมหากาพย์ภารตยุทธ์นี้ แน่นอน คงไม่มีใครเชื่อว่ามาจากฝีมือพระคเณศแน่ แต่นั่นเป็นภูมิปัญญาของปราชญ์โบราณที่ต้องการจะบอกกับคนในยุคสมัยต่อไปว่า การบูชาครูเพื่อขอดวงปัญญาในการทำงานให้ลุล่วงนั้น เป็นสิ่งสำคัญในลำดับแรก โดยเฉพาะการรจนางานในเชิงพระคัมภีร์ เหมือนเช่นพระมหาธีรราชเจ้า มักจะประพันธ์อักขระเพื่อถวายบูชาต่อพระคเณศก่อนที่จะเริ่มงานประพันธ์ทุกครั้ง มีอยู่หลายกรณี หลายเหตุการณ์ที่ท่านทรงแสดงความเป็นเทพแห่งปัญญาที่แท้จริง แต่กรณีที่เด่นๆก็อย่างเช่น กรณีเดินทางรอบโลกเพื่อผลมะม่วง ในคราวหนึ่ง พระนางอุมาได้นำเอาผลมะม่วงมาถวายกับพระศิวะผลหนึ่ง ปรากฏว่าลูกทั้งสองคนคือ พิฆเนศวรและขันธกุมาร ต่างก็อยากจะเสวยมะม่วงผลนี้ด้วยกันทั้งคู่ ด้วยเหตุนี้พระศิวะจึงอยากรู้ว่า ลูกทั้งสองคนนี้ใครจะเก่งกว่ากัน โดยตั้งโจทย์ว่า ใครก็ตามหากเดินทางรอบโลกถึงเจ็ดรอบและกลับสู่วิมานปาวตา(วิมานของพระศิวะและพระนางอุมา) ก่อนผู้นั้นจะได้ผลมะม่วงลูกนี้ ว่าแล้วฝ่ายขันธกุมารก็ไม่รอช้า รีบขี่นกยูงตระเวนท่องโลกทันที ฝ่ายพิฆเนศแทนที่จะเอาอย่าง กลับเดินประทักษิณรอบบิดาเจ็ดรอบ และกล่าวว่า "ข้าแต่พระบิดา พระองค์คือจักรวาล และจักรวาลคือพระองค์ พระองค์ผู้สร้างโลก และทรงเป็นบิดาแห่งข้าพระองค์ ข้าพระองค์ทำประทักษิณพระบิดาเจ็ดรอบ ถือว่าได้กุศลเท่ากับเดินทางรอบโลกเจ็ดรอบ" มหาเทวะศิวะเทพยินดีในคำตอบและชื่นชมในสติปัญญาจึงมอบผลมะม่วงให้กับพระพิฆเนศวรทันที

      วิธีการพิชิตศัตรู



      การอภิเษกสมรส
      อันที่จริงเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องที่เสริมแต่งให้ความเป็นพระพิฆเณศวรมีความสมบูรณ์ขึ้นเท่านั้นเอง เพราะพระชายาทั้งสองพระองค์ซึ่งเป็นธิดาของประชาบดีอิศวรรูปนั้นแทบจะไม่บทบาทอะไรเลยนอกจากคอยอยู่ปรนนิบัติพัดวี นวดแขน เกาขาไปตามเรื่อง พระชายาทั้งสองมีโอรสกับพระคเณศด้วย นางพุทธิให้กำเนิดลาภะ ส่วนนางสิทธิให้กำเนิด เกษม ซึ่งคุณสมบัติทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นพุทธิ สิทธิ ลาภะ เกษม แต่ตำนานที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดคือ พระคเณศเป็นเทพที่ถือพรหมจรรย์ เรื่องการอภิเษกนั้น เรื่องราวดำเนินละม้ายคล้ายกับการชิงผลมะม่วง เพราะเมื่อถึงวัยที่โอรสทั้งสองพระองค์ของศิวะเทพและนางปราวตีเจริญเติบโตพอที่จะมีเหย้ามีเรือน แต่มีเงื่อนว่า พระศิวะจะจัดพิธีวาหะให้ต่อเมื่อลูกคนใดคนหนึ่งสามารถผ่านการเดินรอบโลกได้เจ็ดรอบด้วยเวลาอันรวดเร็ว พระคเณศก็ทรงใช้การประทักษิณรอบพระศิวะเจ็ดรอบ แล้วให้คำอธิบายเหมือนกับเหตุการณ์ในตอนที่แย่งชิงผลมะม่วงกับพระขันธกุมาร พระศิวะพอใจในคำอธิบายของพระคเณศมาก และตรัสสรรเสริญในภูมิปัญญาของโอรสในพระองค์ว่า "โอ…ลูกรักเจ้าเป็นบุคคลที่ยอดเยี่ยมยอดและมีปัญญาเป็นที่สุดสิ่งที่เจ้าได้กล่าวมาเป็นจริงทั้งสิ้น ถ้าบุคคลหนึ่งได้มีปัญญาเป็นคุณสมบัติติดตัว แม้เมื่อโชคร้ายมาถึงเขา ความอับโชคนั้นย่อยถูกกำจัดด้วยปัญญา" ว่าแล้วในคราวนั้น พระคเณศจึงได้พระชายาคราวเดียวกันถึง 2 คนคือนางพุทธิและสิทธิอย่างที่กล่าวไว้ในข้างต้น
      เหตุแห่งการเสียงา
      มีหลายตำนานมาก พอจะแบ่งได้ดังนี้ ตำนานแรก ปรศุรามใช้ขวานจาม ปรศุรามนั้นเป็นอวตารของวิษณุเทพ กล่าวว่า ปรศุรามได้ยืมขวานจากพระศิวะไปทำลายเหล่ากษัตริย์ เมื่อเสร็จภารกิจจะเข้าเฝ้าที่เขาไกรลาส ระหว่างนั้นบริเวณพระที่นั่งชั้นใน พระศิวะมหาเทพกำลังสนทนาอยู่กับนางปราวตี พระคเณศไม่ยอมให้ปรศุรามเข้าพบ ปรศุรามโมโหเลยใช้ขวานของพระศิวะขว้างไปยังพระคเณศ พระองค์จำใจต้องใช้ใช้งาข้างซ้ายรับขวานนั้น ด้วยเหตุที่ท่านทรงมีความกตัญญูเป็นอย่างยิ่งในบิดา ครั้นจะต่อสู้กันไปก็อาจทำได้ แต่จะมีประโยชน์อะไรกับการทำลายฤทธิ์เดชของอาวุธซึ่งเป็นของบิดาตนเอง ตำนานสอง ได้เศียรช้างงาเดียว เมื่อคราวที่พระศิวะได้ทำพิธีโสกัต์และพระวิษณุเทพพลั้งเผลอเปล่งวาจา ยังผลให้เศียรของกุมารหายไปนั้น ได้มีเทวโองการให้หาเศียรของมนุษย์ที่เสียชีวิตมาต่อให้ แต่ปรากฏว่าในวันอังคารนั้นไม่มีมนุษย์ผู้ใดถึงฆาต มีเพียงช้างงาเดียวที่นอนตายอยู่ทางทิศเหนือ จึงตัดเศียรมาต่อให้ ตำนานสามโดนพระศิวะใช้ขวานจาม เมื่อคราวที่กุมารน้อยถือกำเนิดใหม่ ๆและเฝ้าปากทวารห้องสรงน้ำของพระแม่ปราวตีนั้นพระศิวะไม่ทราบว่าเป็นลูก เลยเกิดการต่อสู้กันพระศิวะโมโหจึงใช้ขวานขว้างไปโดนงาของพระคเณศหัก ตำนานสี่ งาถอดได้เองตามธรรมชาติ เมื่อคราวที่พระคเณศต่อสู้กับอสูรอสุรภัค พระคเณศแสดงเดชโดยการถอดงาของตัวเองขว้างไปที่อสูร
      ความหมายของหนูกับช้าง
      หนูกับช้างเป็นสัญลักษณ์ของการพึ่งพาและปรองดอง ในขณะเดียวกันก็แสดงให้เห็นถึงอำนาจและความมีชัยของฝ่ายที่อยู่เหนือกว่า ในทางมนุษยวิทยาแล้วมีผู้วิเคราะห์ไว้ว่า หนูกับช้างเป็นสัญลักษณ์ของชนเผ่าสองกลุ่ม เผ่าที่มีชัยเหนือกว่าอาจจะเป็นชนกลุ่มที่นับถือช้างอยู่แต่เดิม จึงได้สร้างและยึดเอาประเพณีการนับถือช้างเป็นเทพเจ้ามาเป็นตัวแทนกลุ่ม หรืออีกอย่างที่เป็นไปได้คือ คนสมัยดั้งเดิมนั้นประกอบอาชีพทางด้านกสิกรรม และแน่นอน หนูย่อมเป็นศัตรูอันร้ายกาจของไร่นา ภาพที่แสดงออกในรูปของช้างและงูที่เป็นสังวาลนั้น ได้แสดงให้เห็นถึงการเป็นผู้ทำลายหนูอันเป็นศัตรูสำคัญของผลิตผลทางการเกษตรอย่างชัดเจน ทั้งการนำหนูมาเป็นบริวารนั้น เนื่องจากหนูขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็วเพราะหนูได้ชื่อว่าเป็นสัตว์ที่มีความฉลาดและกัดทุกอย่างให้ขาดได้ ดังนั้นจึงเป็นความเหมาะสมสำหรับการเป็นพาหนะของเทพเจ้าแห่งปัญญา อันมีคุณสมบัติในการขจัดซึ่งอุปสรรค

      วันคเณศจตุรถี
      การบูชาพระคเณศเรียกว่า "พิธีคเณศจตุรถี" มีความหมายว่า "พิธีอุทิศต่อพระคเณศ" จะกระทำวันขึ้น 4 ค่ำ เดือน ภัทรบท หรือเดือน 10 ในช่วงเดือนกันยายน (พ.ศ.2538 ) ที่ผ่านมามีเหตุการณ์ที่ฮือฮากันมากที่สุดก็คือปรากฏการณ์ที่เทวรูปดื่มนมสดก็ปรากฏขึ้นมาทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยด้วยซึ่งตรงกับเทศกาลประกอบพิธีคเณศจตุรถี หรือพิธีอุทิศต่อพระคเณศพอดีทำให้ปรากฏการดังกล่าวได้รับความสนใจไปทั่วโลก หนังสือพิมพ์ที่ตีพิมพ์เรื่องราวดังกล่าวขายดีเป็นเทน้ำเทท่า ผู้คนแตกตื่นพากันไปดูเทวรูปดื่มน้ำนมกันแพร่หลาย ในวันที่ประกอบพิธีคเณศจตุรถีนั้น ประชาชนทั้งหลายต่างพากันมาทำสักการะบูชารูปเคารพของพระคเณศที่ปั้นด้วยดิน (เผา ) เครื่องบูชาจะประกอบไปด้วยดอกไม้ (โดยเฉพาะดอกไม้สีสดใส เช่น สีแดง, สีเหลือง, สีแสด,) ขนมต้ม, มะพร้าวอ่อน, กล้วย, อ้อย, นมเปรี้ยว,(แบบแขก) ขณะทำการบูชา ผู้บูชาจะท่องพระนาม 108 ของพระองค์ หลังจากการบูชาแล้วก็จะเชิญพวกพราหมณ์ ผู้ประกอบพิธีมาเลี้ยงดูกันให้อิ่มหนำสำราญและมีข้อห้ามในวันพิธีคเณศจตุรถีนี้คือ ห้ามมองพระจันทร์อย่างเด็ดขาด และถือกันว่าถ้าผู้ใดได้มองพระจันทร์ (เห็นพระจันทร์) โดยพลาดพลั้งเผลอเรอไป พวกชาวบ้านก็จะพากันแช่งด่าผู้นั้นทันที่ (ถือว่าซวยมาก) และที่ชาวบ้านด่านั้น ก็เป็นความหวังดี มิได้ด่าด้วยความโกรธแค้น แต่ด่าเพราะเชื่อกันว่าการด่าการแช่งนั้นจะทำให้คน (ซวย) นั้นพ้นจากคำสาปไปได้ ความเชื่อนี้ มีเรื่องเล่าที่มาอยู่ 2 เรื่อง คือสืบเนื่องมาจากการที่พระคเณศพลัดตกจากหลังหนูจนท้องแตก (เพราะหนูตกใจที่มีงูเห่าเลื้อยผ่านหน้า และพระคเณศเสวยขนมต้มมามาก) ขนมต้มทะลักออกมาพระคเณศ ก็รีบเก็บขนมต้มยัดกลับไปในพุง และจับงูเห่าตัวนั้นมารัดพุงขณะเดียวกันพระจันทร์ ก็เผอิญมาเห็นเข้าก็อดขำไม่ได้หัวเราะออกมาดังสนั่นพระคเณศโกรธยิ่งนัก เอางาขว้างไปติดพระจันทร์จนแน่น ทำให้โลกมืดลงทันที่ เพราะไฟดับ (เหมือนราหูอมจันทร์) พระอินทร์และทวยเทพทั้งหลายทราบเรื่อง ก็ต้องพากันไปอ้อนวอน พระคเณศจึงยอมถอยเอางาออก แต่พระจันทร์ก็ต้องได้รับโทษอยู่คือ จะต้องเว้าๆแหว่งๆเป็นเสี้ยวๆไม่เต็มดวงทุกคืน จนถึงวันขึ้น 15 ค่ำและแรม 1 ค่ำ จึงจะเต็มดวง ส่วนอีกเรื่องหนึ่งเล่าว่าพระคเณศสาปคนที่มองดูพระจันทร์ในวันที่บูชาพระองค์คือ หากใครมองดูพระจันทร์ในวันนี้ ผู้นั้นก็จะต้องกลายเป็นคนจัณฑาลไปเลย และคนจัณฑาลในสังคมอินเดียจะเป็นที่รังเกียจของคนวรรณะอื่นๆทุกๆวรรณะ (เพราะถือว่าคนจัณฑาล ไม่มีชนชั้น เป็นชนชั้นต่ำ ) ดังนั้นคำสาปให้เป็นจัณฑาลจึงเป็นโทษร้ายแรงยิ่งนัก

      การอวตารและพระนาม
      แต่ละองค์ที่อวตารก็มักมีลักษณะที่แตกต่างกันในด้านรูปลักษณ์ พระนาม พระกร อาวุธ และพลังอำนาจในแต่ละช่วงเวลา พอจะรวบรวมได้ดังนี้ 1. บัล คณะบติ(ภาคเด็ก) สีโลหิต 4 กร 2. พระ ตรุน คณะปติ (ภาคเป็นหนุ่ม) สีแดงส้ม 8 กร 3. พระ ภักตะคณะปติ(แห่งความรัก) สีบริสุทธิ์ 4 กร 4. พระ วีระคณะปติ (แห่งนักรบกล้า) สีโลหิต 10 กร 5. พระ ศักติคณะปติ(แห่งพระพลังอำนาจ) สีแป้งจันทร์ 4 กร 6. พระ ทวิช คณะปติ (แห่งผู้เกิดสองหน) สีขาว 4 กร 7. พระ สิทธ คณะปติ(แห่งความสมบูรณ์) สีน้ำตาล 4 กร 8. พระ อุจฉิต คณะปติ(แห่งอาหาร บวงสรวง) สีฟ้า 4 กร 9. พระ วิฆณะ คณะปติ(ผู้ทรงขจัดความยุ่งเหยิง) สีทองคำ 10 กร 10. พระกษิประ คณะปติ(พระผู้รวดเร็วในการแบ่งภาค) สีแดงโลหิต 4 กร 11. พระเฮรัมพะ คณะปติ(พระผู้เป็นปฐมแห่งการกราบ ไหว้บูชา ทรงมี 5 พักตร์ มีสิงโตเป็นพาหนะ) สีขาวสว่าง 8 กร 12. พระ ลักษมี คณะปติ (แห่งทรัพย์สมบัติ) สีขาว 10 กร 13. พระ มหา คณะปติ (แห่งความยิ่งใหญ่) สีแดงโลหิต 10กรและ3 เนตร 14. พระ วิชัย คณะปติ(แห่งความชนะ) สีแดง 4 กร 15. พระ นฤตะ คณะปติ (แห่งการร่ายรำ) สีเหลือง 4 กร 16. พระ อุรทวะ คณะปติ(แห่งผู้ให้การช่วยเหลือ) สีทองคำ 6 กร 17. พระ เอกสร คณะปติ (แห่งอักษรพยางค์เดียว) สีโลหิต 4 กร 18. พระวรัท คณะปติ (แห่งผู้ประทานพรทั้งหมด) สีแดง 4 กร 19. พระ ตระยักศร คณะปติ (แห่งตัวอักษร) สีทองคำ 4 กร 20. พระ กศิปร ปรสัท คณะปติ (ผู้ทรงให้พรที่รวดเร็ว) สีแดงผงจันทร์ 6 กร 21. พระ ฮริทรา คณะปติ (แห่งสีสรรพ) สีเนื้อ 4 กร 22. พระ เอกทันตะ คณะปติ(แห่งผู้มีงาข้างเดียว) สีฟ้า 4 กร 23. พระ สริสติ คณะปติ (แห่งส่วนโค้งงอ) สีแดงส้ม 4 กร 24. พระ อุททานทะ คณะปติ (แห่งพลังที่ยิ่งใหญ่ ที่สุด) สีแดง 12 กร 25. พระ รีนา โมจัน คณะปติ(พระผู้ขจัดหนี้สิน) สีแดง 12-16 กร 26. พระ ทุนทิ คณะปติ(พระผู้มีรูปร่างเตี้ย) สีแดงส้ม 4 กร 27. พระ ทวีรมุข คณะปติ (พระผู้มี 2 พักตร์) สีเนื้อ 4 กร 28. พระ ตรีมุข คณะปติ (พระผู้มี 3 พักตร์) สีแดงส้ม 6 กร 29. พระ สิงห คณะปติ (พระผู้มีเศียรเป็นสิงห์) สีขาว 8 กร 30. พระ โยคะ คณะปติ(แห่งกรรมฐานสมาธิ) สีทองคำ 8 กร 31. พระทุรคา คณะปติ (แห่งอำนาจความคิด) สีทองคำ 8 กร 32. พระ สันกัสตหร คณะปติ (พระผู้ทำลายอุปสรรค) สีแดงส้ม 4 กร แต่ลักษณะเด่นสำคัญของพระคเณศวรในทุก ๆภาคอวตารทรงมีรูปร่างเป็นมนุษย์ที่มีเศียรเป็นช้าง แต่มีเพียงภาคเดียวที่ทรงมีเศียรเป็นสิงห์ที่เรียกว่า ภาค สิงหะคณะปติ

      การอธิษฐาน
      มนต์แห่งพระคเณศเป็นมนต์ที่ให้พลังอำนาจยิ่งใหญ่ มนต์แต่ละบทประกอบไปด้วยอำนาจพิเศษของพระคเณศวร เมื่อใดก็ตามที่ได้ท่องสวดพร้อมกับการปรันยัน (อาบน้ำชำระร่างกาย) แล้วประกอบพิธีบูชาจะนำมาซึ่งผลบุญที่ดี สิ่งสำคัญที่ลืมไม่ได้ก็คือ ผู้ที่จะสวดมนต์แห่พระคเณศควรจะต้องอาบน้ำชำระร่างกายหรือล้างมือล้างเท้าก่อนที่จะนั่งและสวดมนต์ทั้งหลายนี้ เช่นเดียวกัน เขาจะต้องทำปรันยันสามหนหรือมากกว่าก่อนที่จะสวด ต้องสวดมนต์อย่างน้อยให้ได้หนึ่งรอบของลูกประคำ(108ครั้ง) และจะต้องกำหนดชั่วโมงและสถานที่เพื่อการท่องสวดมนตร์จะต้องทำติดต่อกันเป็นประจำ 48 วัน นั่นหมายความว่าตั้งจิตประกอบสมาธิจำมาซึ่งสิทธิ์และอำนาจอันเร้นลับ ข้อเตือนก็คือ ผู้บูชาจะต้องมีร่างกายที่แข็งแรงไม่เจ็บไข้ในเวลาท่องสวดมนตร์และจะไม่กระทำเพื่อผลประโยชน์ของตนเองอำนาจทั้งหลายนี้จะไม่บังเกิดผลหรือใช้ในทางที่ผิดจะเป็นผลตรงกันข้ามและเป็นที่สาปแช่งของเทวะ 1) โอมฺ คัม คณะปัตเย นะมะหะ มนตร์นี้ได้มาจากพระคัมภีร์ คเณศ อุปนิษัท ทุกๆครั้งจะต้องเริ่มต้นการสวดมนตร์นี้ก่อนออกเดินทางหรือในการเริ่มต้นบทเรียนใหม่ หรือก่อนเริ่มต้นการทำสัญญาธุรกิจใหม่ ก็เพื่อขจัดอุปสรรคที่จะเกิดขึ้น ต่อไปจะนำมาซึ่งความสำเร็จสมประสงค์ 2) โอมฺ นโม ภัควเต คชานนายะ นะมะหะ มนตร์นี้เป็นมนตร์แห่งการกราบไหว้บูชาที่พระคเณศวรทรงโปรดมาก 3)โอมฺ ศรี คเณศายะ นะมะหะ มนตร์นี้ส่วนมากจะต้องสั่งสอนให้เด็กๆท่องสวดเพื่อความรู้ความฉลาดที่จะได้รับ เพิ่มพลังการจดจำและให้ผลสำเร็จในการสอบ การเล่าเรียน เช่นเดียวกันคนทั่ว ๆไปอาจใช้มนต์นี้ได้ เพื่อความสำเร็จและความเจริญก้าวหน้าในธุรกิจ 4) โอมฺ วักรตุนทายะ ฮัม มนตร์นี้เป็นมนตร์ที่มีอำนาจมากตามที่พรรณนาไว้ใน พระคเณศ ปุราณะ เมื่อใดเกิดเหตุขัดข้อง ไม่สามารถดำเนินต่อไปได้แล้วหรือเกิดเหตุร้ายขึ้น ควรทำสมาธิรำลึกถึงพระคเณศด้วยการสวดมนตร์นี้ตลอดเวลา 5) โอมฺ กษิปหะ ปรัสทายะ นะมะหะ คำว่ากษิประ หมายความถึงความรวดเร็ว ถ้าหากว่าเกิดอุบัติเหตุหรือเกิดบางสิ่งบางอย่างกับตัวท่านหรือบางอย่างเกี่ยวกับธุรกิจการงานที่ไม่รู้จะแก้ไขอย่างไรแล้วควรจะตั้งจิตมั่นบูชาพระคเณศด้วยการสวดมนตร์นี้โดยเร็ว เพื่อที่จะได้รับพรให้หลุดพ้นจากเรื่องร้ายหรือภัยที่ร้ายแรงได้ 6) โฮมฺ ศรีม ฮรีม กลีม คลัม คัม คณะปัตเย วร วรัท สรวะ ชันมัย วศัมนายะ สวาหา ในมนตร์บทนี้มีพืชมนตร์อยู่มากมาย (พืช-เมล็ด) อันความหมายอย่างอื่นคือ "แสดงถึงการให้พรแห่งความสุขสำหรับตัวท่าน ข้าพเจ้าขอทูลถวายตัวเองเป็นทาสรับใช้พระคเณศวร" 7) โอมฺ สุมุขายะ นะมะหะ มนตร์นี้มีความหมายอยู่มากมายแต่ทุกความหมายนั้นง่ายต่อความเข้าใจ มนตร์นี้หมายความว่า ท่านจะต้องมีจิตใจที่งาม มีวิญญาณอันบริสุทธิ์ในความเป็นจริงในทุก ๆสิ่ง ด้วยการประกอบสมาะบูชาด้วยมนตร์นี้ขอให้บังเกิดสิ่งที่ดีงามและของสวยงามมาสู่ยังตัวท่าน พร้อมด้วยความสุขสันติซึ่งมั่นคงติดแน่ดวงตาของท่านไปนานแสนนานและคำพูดทุกถ้อยคำซึ่งท่านได้พูดออกมาขอให้เต็มไปด้วยพลังแห่งความรัก 8) โอมฺ เอกทันตายะ นะมะหะ เอกทันตะ หมายถึงพระผู้ทรงมีงาเพียงข้างเดียวแห่งเศียรเป็นช้าง ซึ่งหมายความว่า พระองค์ทรงแบ่งแยกความดีและความชั่วออกเป็นสองฝ่ายและนำท่านไปสู่ความดีและเป็นที่โปรดของพระองค์ตลอดกาล ใครก็ตามที่มีจิตใจเป็นหนึ่งแน่วแน่ต่อการกราบไหว้บูชาแล้วจะได้ผลบุญตามที่ตนเองที่ปรารถนาอยากได้ 9) โอมฺ กปิลายะ นะมะหะ กปิล หมายถึงว่าท่านสามารถที่จะแต่งเติมแต้มแห่งอายุรเวท ท่านสามารถสร้างสีสันรอบๆตัวท่านเองและรอบผู้อื่นได้ด้วยมนตร์นี้ จงอาบน้ำชำระสิ่งทั้งหลายและตบแต่งมันให้สวยงามและเยียวยาให้ดีขึ้นได้ ตามมนตร์ที่ท่านได้สวดขึ้นมาจะทำให้ท่านสามารถสร้างสีสันสวยงามได้ตามที่ต้องการและจะเป็นจริงเสมอ เพราะว่ามีอำนาจในมนตร์เมื่อใดที่ท่านต้องการโดยเฉพาะอย่างในการรักษาผู้อื่นจะเป็นผลได้ในทันที 10) โอมฺ คชากรันกายะ นะมะหะ พระกรรณแห่งพระคเณศวร ช้าง ทรงกว้างใหญ่ ซึ่งหมายความว่าผู้บูชาไม่จำเป็นต้องกล่าวความยาว แต่ทว่าเขาจะไม่ได้รับในสิ่งที่ไร้ค่า นอกจากสิ่งที่สำคัญที่สุด มันหมายความว่าเขาจะไปอยู่ ณ ที่แห่งหนใดก็ตาม พระองค์จะทรงเสด็จไปได้ 11) โอมฺ สัมโพธรายะ นะมะหะ หมายความว่าโลกทั้งหมดอยู่ในพระองค์ด้วยคำว่า "โอม" 12) โอมฺ วิกตายะ นะมะหะ หมายความว่าในความเป็นจริงของโลกใบนี้เหมือนความฝันหรือเป็นการเล่นละครเท่านั้น เมื่อมีความเข้าใจดีทุกอย่างว่าโลกทั้งหมดนี้ดูเหมือนความฝันโดยมีพวกเราทั้งหมดเป็นตัวแสดงโดยที่เราแสดงบทเป็นลูก เป็นพ่อ เป็นแม่ ในความฝันนี้เราอาจถูกงูเห่ากัดตาย แต่เมื่อตื่นขึ้นมาไม่เป็นอะไรเลย ชีวิตคือการแสดง ดังนั้นทุกสิ่งทุกอย่างเราพิจารณาเหมือนหนึ่งการเล่นละคร มนตร์นี้จะทำให้ผู้สวดเข้าใจดีถึงเรื่องราวทั้งหมด 13) โอมฺ วิฆณะ นัษนายะ นะมะหะ ในความเป็นจริงของทั้งหมด พระเจ้าทรงขจัดสิ่งกีดขวางหรืออุปสรรคทั้งหลายให้หมดสิ้นไปจากชีวิตเรา ด้วยความรู้แห่งมนตร์นี้อุปสรรคทั้งหมดและพลังอำนาจแห่งเครื่องกีดขวางทางทั้งหลายก็จะถูกทำลายลงไปได้

      การขอพร
      ในการบูชาพระคเณศนั้น ท่านนักปราชญ์โบราณได้มีบทสวดบทบูชาเพื่อขอพรต่อ พระคเณศซึ่งบทสวดนี้อาจจะมีความยาวมากนิดหน่อยือแต่บทสวดบูชาบทนี้นั้น กล่าวว่าถ้าผู้ใด ได้หมั่นสวดท่องบูชาเป็นประจำ ผู้นั้นจะประสบความสำเร็จ ตามความ ประสงค์ทุกประการ บทสวดนี้อันที่จริงเป็นภาษาบาลี แต่เพื่อให้สะดวกในการใช้งาน จะใช้ภาษาไทยสวดทดแทนกัน บทสวดบูชาขอพรต่อพระคเณศด้วยโศลกแปดบท "ขอน้อมนมัสการแด่พระศรีคเณศ" ๑. ขอนมัสการ พระคณนายก พระผู้ซึ่งมีงาข้างเดียว มีกายยิ่งใหญ่ มีผิวพรรณเสมือนทองคำที่ร้อน มีท้องใหญ่ มีเนตรไพศาล ๒. ขอนมัสการ พระคณนายก ซึ่งพระองค์รัดเอวไว้ด้วยเชือกหญ้าคา และหนังกวางดำ มีงูเป็นยัชโญปวีต (ยัช-ชะ-โย-ปะ-วีด) บนหน้าผากมีพระจันทร์เล็ก ๓. ขอนมัสการ พระคณนายก ซึ่งพระองค์ได้ประดับเพชร อัญมณีนานาบนร่าง และ สวมมาลัยไว้อย่างแปลกตา และสามารถแปลงรูปได้ตามประสงค์ ๔. ขอนมัสการ พระคณนายก พระองค์มีพระพักตร์ เป็นช้าง พระองค์เป็นเทพที่สูง หูพระองค์ใช้โบกปัดเหมือนแส้จามรี ท่านถืออาวุธปาศ และอังกุศ ๕. ขอนมัสการ พระคณนายก พระองค์มีความเยี่ยมมาก พระองค์ไปร่วมสงครามตอนเทวดากับอาสูร ทำสงครามกัน โดยขึ้นบนหลังหนูเป็นพาหนะ ๖. ขอนมัสการ พระคณนายก พระองค์ผู้มีแขนยาว และได้รับการสดุดีโดยพวกยักษ์ กินนร คนธรรพ์ สิทธิ และวิทยาธร เสมอไป ๗. ขอนมัสการ พระคณนายก พระองค์ผู้ทรงเป็นที่พึ่ง มีความจงรักภักดี พระองค์เป็นผู้ประทานความสุขแก่เจ้าแม่อัมพิกา (คือมารดาของพระคเณศ ) และพระองค์ทรงห้อมล้อมไปด้วยมาตฤกา (เจ้าแม่) ทั้งหลายและมีน้ำมันอันไหลย้อยจากศีรษะ ๘. ขอนมัสการ พระคณนายก พระองค์เป็นเทวดาขจัดอุปสรรคทั้งปวง พระองค์ปราศจากอุปสรรคทั้งหลาย พระองค์ทรงประทานความสำเร็จทุกประการ บทสวดทั้งแปดโศลกนี้บุคคลผู้ใดอ่านเป็นประจำ ผู้นั้นจะประสบความสำเร็จ ความประสงค์ทุกประการผู้นั้นเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิทยา และทรัพย์ อ่านบทสวดแปดโศลกแล้ว อ่านต่ออีก 2 โศลก ๑. ขอนมัสการพระเทพซึ่งอยู่ในรูปช้าง อยู่ในรูปพระพรหม อยู่ในรูปพระวิษณุ และอยู่ในรูปพระศิวะ ๒. และในการสวดบูชาพระคเณศนี้ (ข้าพเจ้า) ที่ได้กระทำมากหรือน้อย ด้วยการกระทำทั้งหมดของข้าพเจ้านี้ ขอ พระสรวาตมา (พระคเณศ) ขอพระองค์ทรงอวยพรแก่ข้าพเจ้าทุกประการเทอญ บทสวดบูชาขอพรที่กล่าวมาทั้งหมด ให้กล่าวบทสวดบูชาก่อนแล้วค่อยขอพร ตามที่ตนเองต้องการ และตั้งจิตให้มั่นให้เป็นสมาธิระลึกถึงองค์พระคเณศผู้ขจัดอุปสรรคทั้งปวง ขอให้พระองค์ทรงพระกรุณาประสิทธิ์ประสาทพรให้ตามที่ขอทุกประการ และอย่าลืมพรที่ขอนั้นขอให้ตั้งอยู่บนหลักเหตุและผลในความเป็นไปได้ด้วย
      พระพิฆเนศนั้นเป็นเทพที่มีลักษณะโดดเด่นกว่าเทพพระองค์อื่น นอกเหนือจากเรื่องมีพระเศียรเป็นช้างแล้ว นั่นคือ การนิยมการนำศัตรูเอามาเป็นพวก พระคเณศนั้นไม่นิยมที่จะล้างผลาญศัตรูให้ตายไปเหมือนเทพพระองค์อื่น แต่มักจะใช้ปัญญาที่มีอยู่เป็นทุนเดิมในการดำเนินกุศลโลบาย เพื่อให้ศัตรูมีโอกาสกลับใจมาเป็นคนดี หรือเรียกง่าย ๆก็คือ เมื่อยอมสวามิภักดิ์แล้วก็จะให้เป็นเทพบริวารไล่เรียงกันไป บรรดาเหล่ารายชื่ออสูรที่ยอมสวามิภักดิ์ต่อพระคเณศประกอบด้วย มัตสระ (ที่มาของคเณศปางวักระตุณฑะ) มะทะ เกิดจากฤาษีโจวะนะสร้างขึ้น (ที่มาของปางเอกทันตะ) ยานาริลูกของอสูรทุระพุทธ (ที่มาของปาง ปุระณานันมโหกระซึ่งอวตารมาเป็นลูกพระลักษมี) โลภาสูร กำเนิดจากความโลภของท้าวกุเบธ(ที่มาของปางคชนันท์) โกรธาสูร เกิดจากความลุ่มหลงของพระศิวะที่เห็นพระวิษณุแปลงรูปเป็นสาววัย 16 (ที่มาของปางลัมโพทระ) กามาสูร เกิดจากความลุ่มหลงของวิษณุเทพต่อชายาอีกพระองค์หนึ่ง ชื่อ พระแม่วฤนทา (ที่มาของปางวิกฎะ) มมตาสูร เกิดจากเสียงหัวเราะของพระนางอุมา (ที่มาของวิฆนราช) อหัมอสูร เกิดจากเสียงจามของสุริยเทพ (ที่มาของปางธูมรวรรณ)

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×